วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่5 ออกแบบ Logo


บทสัมพาษณ์ Jacob Cass Graphic Designer Freelance Online ชื่อดัง ในหัวข้อการออกแบบ Logo ว่า การออกแบบ Logo ที่ดีต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง

Q: การออกแบบ Logo ที่ดีนั้นเป็นอย่างไร.. ?
A: หลักการออกแบบ Logo ที่ดีนั้น Logo จะต้อง โดดเด่นและเหมาะสมกับองค์กร สามารถประยุกต์ใช้กับหลายๆ ที่ หลายๆ โอกาส และที่สำคัญที่สุดมันจะต้องสื่อสารกับคนที่เห็นอย่างตรงไปตรงมา
Jobcob Cass บอกสิ่งสำคัญสำหรับการออกแบบ Logo ให้มีประสิทธิภาพไว้ 5 ข้อดังนี้
  • Simple (ง่าย)
  • Memorable (น่าจดจำ) : มีความเป็นเอกลักษณ์ จดจำง่าย
  • Timeless (ถาวร): Logo นั้นต้องเป็นอมตะ อยู่คงทนทุกยุคทุกสมัย
  • Versatile (อเนกประสงค์) : แน่นอนว่าคุณเสียเงินค่าออกแบบไปแล้ว จะต้องให้มันใช้ได้กับทุกงาน
  • Appropriate (เหมาะสม) : Logo ที่ใช้นั้นจะต้องเหมาะสมกับองค์กรเรา

1. Simple

Logo จะต้องดูง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ต้องดูแล้วตีความหมายเหมือนภาพ Abstract
Logo ของ London Underground ก็เป็นการออกแบบ Logo ที่ง่าย ใช้สีน้อย และมีสเน่ห์ และการที่เราออกแบบ Logo ที่ง่ายๆ มันทำให้ Logo ของเรานั้น เข้าถึงผู้คนและทำให้ผู้คนจดจำได้ง่าย ทั้งคนแก่ไปยันเด็กเล็กๆ ฟอร์มหรือรูปทรงที่ดูเรียบง่ายนั้นมันจะทำให้เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรคุณเอง โดยไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาเลย
Jeff Fisher ได้พูดไว้ในการสอนช่วงปี 70 ว่า “การทำให้มันง่าย อาจจะดูเป็นการออกแบบที่โง่ มันดูเหมือนว่าคุณไม่ได้ตั้งใจจะออกแบบโลโก้อันนั้น ลูกค้าอาจจะคิดว่าคุณทำมันแบบส่งๆ แต่คุณอย่าลืมว่า Logo ที่ดูง่ายๆ นั้นสามารถเข้าถึงผู้คนและเป็นที่จดจำได้เร็วกว่า Logo ที่ดูซับซ้อน การทำ Logo ให้ง่ายและให้มันดีมันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ Designer มันเหมือนเป็นการวัดกึ๋นกันพอสมควรเลยนะ

2. Memorable

การออกแบบ Memorable Logo นั้นก็คือการออกแบบ Logo ที่มีความสามารถให้มีความน่าจดจำ ในตัวอย่างเป็นของ McDonald ซึ่งมันก็เป็นเพียงรูปทรงง่ายๆ ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย เป็นแค่ตัว M แล้วมีชื่อ McDonald เท่านั้นเอง แต่หลักๆ แล้วก็คือการจัดองประกอบของ Symbol กับ Text ของ Logo นั้นๆ
Jeff Fisher บอกเทคนิคสั้นๆ มาว่า ให้นำ Subject หลักของ Logo แล้วนำข้อความหรือสโลแกนสั้นๆ ใส่ไว้ด้วยเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้ Logo เรามากขึ้น แต่อย่าลืมว่าควรเป็นคำหรืออะไรที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน

3. Timeless

Logo ที่ดีนั้นจะต้องใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ออกแบบมาที จะต้องใช้ได้ในอีก 10ปี 20ปี 50ปี … ต้องขนาดที่ว่าอีก 100ปี มาดู Logo อันนี้มันก็ไม่เชย
David Airey บอกไว้ว่าต้อง Leave treands to the fashion คืออย่าไปสนใจแฟชั่นหรือกระแสในตอนนั้นๆ ในปีนั้นๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นมาแล้วก็ไปวนเวียนกันไปเรื่อย.. หากคุณพูดถึงการใส่กางเกงยีนหรือการซื้อชุดสวยๆ ซักชุด คุณควรมองเรื่องแฟชั่นในยุคสมัยนั้นที่คุณอยู่ แต่ถ้ามองลึกลงไปอีกคุณก็จะดูที่แบรนด์นั้นๆ ว่ามันเป็นอย่างไร “อย่างทำตามคนหมู่มาก จงก้าวออกมาเพื่อความแตกต่าง คุณจะได้งานที่ดี”
“อย่าทำตามคนหมู่มาก
จงก้าวออกมาเพื่อความแตกต่าง
คุณจะได้งานที่ดี”

ตัวอย่าง Logo ที่มี Timeless ที่ดีนั้นคือ Logo ของ Coca-Cola ที่ออกแบบมาตั้งแต่ปี 1885 จนถึงปัจจุบันก็ยังคงใช้อยู่โดยที่ไม่แก้ไขและเปลี่ยนแปลง และ Coca-Cola ยังเป็นตราสินค้าที่มีฒุลค่าสูงสุดในปัจจุบันอีกด้วย (2011)

4. Versatile

Versatile คือ การที่ Logo ของเรานั้นสามารถที่จะนำไปใช้ในงานหลายๆ ด้านได้อย่างลงตัว และ Logo นั้นควรจะเป็นไฟล์ Vector ไม่ใช่ไฟล์รูปภาพซึ่งหากเป็นรูปภาพ (.jpg .tif etc.) เวลาเรานำไปใช้งานเมื่อขยายหรือย่อภาพ Logo ของเราจะแตกไม่คมชัดเท่าไฟล์ Vector ที่ได้จากโปรแกรม Illustrator หรือ Coreldraw ฯลฯ
ลองดูว่า Logo ที่เราทำนั้นจะต้องนำไปใช้ในไหนบ้าง:
  • พิมพ์ลงบนกระดาษสีหรือไม่ ?
  • ทำเป็นตรายางตัวปั้มหรือไม่ ?
  • ต้องนำไปทำลงแผ่นป้ายโฆษณาบิลบอร์ดหรือไม่ ?
  • ใช้ในงาน Webdesign ที่มีพื้น Background สีดำหรือไม่ ?
การที่ Logo นั้นจะสามารถใช้ได้หลากหลาย วิธีที่ง่ายและนิยมทำกันมากที่สุดคือ ทำ Logo ที่มีแค่สีขาวกับดำ ให้คิดคำนึงถึง Concept ขององค์กรอย่างเดียวก่อนที่เราจะร่าง ดีกว่าการที่เราต้องมาจับคู่สีให้เข้ากับองค์กรแต่ Concept ไม่ตรง และการที่เราใช้สีต่างๆมากมายใน Logo นั้น มันก็เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในงานพิมพ์อื่นๆ อีกด้วย องค์กรหรือบริษัทคงไม่ชอบใจแน่ๆ
Patrick Winfield กล่าวไว้ในคลาสเรียนว่าผมชอบที่จะสร้าง Logo โดยใช้สีขาวและสีดำก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า Logo นั้นดูดีและดูไม่ซับซ้อนที่สุด เพราะการใช้สีนั้นมันขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน จึงเป็นกระบวนการทำงานที่อยู่สุดท้าย เพราะเราสามารถขอความเห็นจากองค์กรหรือลูกค้าได้ว่าทางนั้นต้องการใช้ Logo ออกมาในสีไหน

5. Appropriate
คุณวางแผนให้ Logo นั้นออกมาอย่างเหมาะสมตามจุดประสงค์ของ Logo นั้นๆ เช่นๆ ถ้าคุณออกแบบ Logo ที่มีเด็กเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น Logo ร้านของเล่น มันก็ควรจะออกมาแบบเด็กๆ ไม่รุนแรงมากนั้น ทั้งการใช้สีและ Font
อีกอย่างนึงก็คือการที่เราออกแบบ Logo มานั้น มันไม่จำเป็นต้องบ่งบอกถึงของที่ขายหรือบริการ เช่น บริษัทขายรถ Logo ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปรถ ขายคอมพิวเตอร์ Logo ก็ไม่จำเป็นต้องเป็น คอมพิวเตอร์ อย่าง Harley Davidson Logo ก็ไม่ได้เห็นเป็นรูปมอเตอร์ไซเลย
และนี่ก็เป็นตัวอย่าง top 50 brands of the world – 94% ของ Logo ทั้งหมดไม่ได้บ่งบอกว่าองค์กรนั้นๆ ทำหรือขายอะไร

และนี่ก็คือ Logo ในแบบของ Jacob Cass นักออกแบบ Logo ชื่อดัง และการออกแบบ Logo ในความเห็นของคุณหละเป็นอย่างไร

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การแรเงา

การแรเงาน้ำหนัก เป็นการวาดเขียนภาพเหมือนจริง ควรเริ่มฝึกการแรเงาภาพ  เพื่อฝึกการเขียนภาพแสดงออกถึงทักษะ ความละเอียดลออในการวาดภาพ การแรเงาสามารถทำให้ภาพดูมีความลึกมีระยะใกล้ไกลและดูมีปริมาตร เปลี่ยนค่าของรูปร่างที่มีเพียง 2 มิติให้เป็น 3 มิติ ทำให้รูปร่างที่มีเพียงความกว้าง-ยาวเปลี่ยนค่าเป็นรูปทรงมีความตื้นลึกหนาบางเกิดขึ้น 

การเขียนภาพแสงเงา ผู้เขียนจำต้องเข้าใจการจัดน้ำหนักอ่อนแก่ให้ได้ใกล้เคียงกับน้ำหนักของแสงที่ตกกระทบผิววัตถุ เพราะความแตกต่างของน้ำหนักทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างกันไปได้ เช่น น้ำหนักสีที่อ่อนให้ความรู้สึกเบา น้ำหนักสีที่แก่ทำให้ดูแล้วรู้สึกหนัก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดระยะใกล้-ไกล ในการมองเห็น ตลอดจนความรู้สึกด้านความงามในทางศิลปะ
ในบทความนี้นำเสนอวิธีการแรเงา เป็นพื้นฐานการศึกษาเบื้องต้น ดังนี้

เทคนิคการแรเงา

1.  หรี่ตาดูวัตถุที่เป็นหุ่น กำหนดพื้นที่แบ่งส่วนระหว่างแสงเงาออกจากกันให้ชัดเจนด้วยเส้นร่างเบาๆบนรูปทรงของภาพร่างที่วาดไว้นั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคร่าวๆ คือ แสงกับเงาเท่านั้น

2.  แรเงาน้ำหนักในส่วนพื้นที่ที่เป็นเงาทั้งหมด ด้วยน้ำหนักเบาที่สุดของเงาที่ตกทอดบนวัตถุ และเว้นพื้นที่ส่วนที่เป็นแสงไว้

3.  พิจารณาเปรียบเทียบน้ำหนักที่เบาที่สุดกับน้ำหนักที่เข้มในส่วนขึ้นอีกเท่าใด แล้วแบ่งน้ำหนักเงาที่อ่อนกับเงาที่เข้มขึ้นด้วยวิธีร่างเส้นแบ่งพื้นที่เบาๆ เช่นกันกับข้อ 1 จากนั้นก็แรเงาเพิ่มน้ำหนักในส่วนที่เข้มขึ้น ตลอดเวลาจะต้องเปรียบเทียบน้ำหนักของเงาที่ลงใหม่กับเงาอ่อนและแสงที่เว้นไว้อยู่เสมอเพื่อให้การแรเงาน้ำหนักได้ใกล้เคียงความเป็นจริง การแรเงาน้ำหนักต้องลงรวมๆ ไปทีละน้ำหนัก จะทำให้คุมน้ำหนักได้ง่าย

4.  การแรเงาน้ำหนักที่เข้มขึ้นจะใช้วิธีการเดียวกับข้อ 1 และข้อ 3 จนครบกระบวนการ จะทำให้ได้ภาพที่มีน้ำหนักแสงเงาใกล้เคียงกับความเป็นจริงจากนั้นเกลี่ยน้ำหนักที่แบ่งไว้ในเบื้องต้นให้ประสานกลมกลืนกัน

5.  พิจารณาในส่วนของแสงที่เว้นไว้ จะเห็นว่ามีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับในส่วนของเงาต้องใช้ดินสอลงน้ำหนักแผ่วๆ ในส่วนของแสงที่เว้นไว้ เพื่อให้รายละเอียดของแสงเงามีน้ำหนักที่สมบูรณ์

6.  เงาตกทอด ใช้หลักการเดียวกับการแรเงาน้ำหนักบนวัตถุที่กล่าวมาแล้ว แต่ต้องสังเกตทิศทางของแสง ประกอบการเขียนแสงในการวาดเขียนปกติจะใช้ประมาณ 45 องศากับพื้น แต่มีข้อสังเกต คือ ถ้าแสงมาจากมุมที่สูง จะเห็นเงาตกทอดสั้น ถ้าแสงมาจากมุมที่ต่ำลง เงาตกทอดจะยาวขึ้น ในส่วนน้ำหนักของเงาตกทอดเองก็จะมีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับแสงเงาบนวัตถุ คือเงาที่อยู่ใกล้วัตถุจะมีความเข้มกว่าเงาที่ทอดห่างตัววัตถุสาเหตุมาจากแสงสะท้อนรอบๆ ตัววัตถุที่สะท้อนเข้ามาลบเงาให้จางลง

 

การแรเงาให้เกิดมิติใกล้-ไกล

      ความอ่อน- แก่ของน้ำหนัก นอกจากจะใช้เพื่อสร้างมิติให้เกิดความรู้สึก สูง ต่ำ หนา บาง แก่ วัตถุในภาพแล้ว น้ำหนักยังใช้สร้างมิติให้เกิดความรู้สึกใกล้-ไกลของวัตถุในภาพอีกด้วย  

      ค่าน้ำหนักถ้าใช้ในการสร้างความรู้สึกด้านมิติแก่วัตถุ ค่าน้ำหนักแก่จะให้ความรู้สึกต่ำหรือลึกลงไป ค่าน้ำหนักที่อ่อนจะให้ความรู้สึกที่สูงหรือนูนขึ้นมา 

      การสร้างความรู้สึกด้านระยะใกล้-ไกล ระยะใกล้จะใช้ค่าน้ำหนักแสงเงาที่ชัดเจนกว่าระยะไกล ระยะกลางก็ใช้ค่าน้ำหนักที่อ่อนลง และระยะไกลก็จะแรเงาให้อ่อนที่สุด หรือเน้นรายละเอียด หรือเส้นให้น้อยกว่าระยะกลางและใกล้

หน่วยการเรียนรู้ที่3 สื่อผสม

 สื่อผสม
สื่อผสม” (หรือในกรณีของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติจะใช้คำว่า “สื่อประสม”) คือ Mixed Media ในภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ลัทธิหรือแนวคิดปรัชญาทางศิลปะใดๆ คำๆนี้เป็นเพียงการระบุถึง ศิลปะที่มีการผสมผสานสื่อทางศิลปะที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น การผสมกันระหว่างงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพเคลื่อนไหวอย่างเช่นภาพจากโทรทัศน์ วิดีโอ เสียง กลิ่น หรือการสัมผัสทางกายภาพ
ศิลปะที่จะเข้าข่าย “สื่อผสม” ควรจะต้องมีการผสมสื่อที่แตกต่างกันเหล่านั้นอย่างน้อย 2 สื่อขึ้นไป แต่ถ้าเป็นการผสมกันระหว่างเทคนิคในสื่อเดียวกัน เช่น จิตรกรรมที่มีการใช้เทคนิคสีน้ำผสมกับการเขียนภาพในบางส่วนด้วยสีน้ำมันและสีฝุ่น ก็ควรจะถือว่าเป็น “เทคนิคผสม” มากกว่า “สื่อผสม”
อย่างไรก็ตามศัพท์ต่างๆเหล่านี้ถูกบัญญัติขึ้นอย่างค่อนข้างกว้างและมีความยืดหยุ่น ทำให้เกิดการตีความที่แตกต่างกัน ทั้งจากคนดู, นักวิจารณ์และศิลปินผู้ที่สร้างงานขึ้นมาเอง อีกทั้งยังมีการเรียกขานสิ่งเดียวกันในชื่อที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วยเช่น บ้างก็เรียกว่า “inter media” “multi media” แต่ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2547) เป็นที่เข้าใจกันในวงการศิลปะและการออกแบบว่า คำว่า “multi media” และ “hyper media” จะใช้กับงานที่ทำขึ้นจากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคที่มีทั้งภาพเคลื่อนไหวที่กินเวลา (อาจจะ) มีตัวหนังสือและเสียงประกอบกันขึ้นมา ส่วนคำว่า “Mixed Media” จะใช้กับงานทางด้านทัศนศิลป์ (visual arts) อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นเสียมากกว่า
โดยพื้นฐานของ สื่อผสม แล้ว การผสมผสานสื่อที่แตกต่างกันไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะผลงานศิลปะและงานหัตถกรรมในวัฒนธรรมต่างๆทั่วโลกที่ทำสืบทอดกันมาหลายศตวรรษ ต่างก็มีลักษณะผสมสื่อที่ต่างกันอยู่ค่อนข้างมาก เช่น งานประติมากรรมของชนเผ่าในทวีปแอฟริกา ที่มีการแกะสลักไม้ให้เป็น 3 มิติ ผสมกับการแกะลายเบา ติดปะด้วยวัสดุธรรมชาติต่างๆ เช่น เปลือกหอยและยังมีการระบายสีต่างๆผสมเข้าไปด้วย
เมื่อศิลปวิทยาการแบบตะวันตกนิยมแบ่งศาสตร์ต่างๆออกจากกัน (สันนิษฐานว่าคงจะหลังจาก ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16) ด้านการจัดการและการศึกษาจิตรกรรม ประติมากรรม และสื่ออื่นๆจึงถูกแยกออกจากกัน ในศิลปะร่วมสมัยช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความเคร่งครัดในการแบ่งประเภทแยกศาสตร์ต่างๆ เริ่มคลายตัว การผสมสื่อจึงได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติปกติในการศึกษาและการทำงานศิลปะ แนวโน้มการรวมศาสตร์นี้สอดคล้องไปกับกระแสการศึกษาและการพัฒนาแบบองค์รวม ไม่แยกย่อยเฉพาะทางจนคับแคบอย่างที่ผ่านมา
สมพร รอดบุญ กล่าวถึง สื่อผสม ว่า นอกจากการผสมของสื่อแล้วยังหมายรวมไปถึงงานศิลปะที่มีการใช้วัสดุผสม หรือกรรมวิธี หรือวิธีการในการสร้างสรรค์ในลักษณะผสม เช่น กรรมวิธีของจิตรกรรมผสมกับกรรมวิธีทางประติมากรรม ศิลปินบางคนอาจไม่ใช้คำว่า “Mixed Media” กับงานของเขา แต่จะระบุให้แน่นอนลงไปเลยว่า ใช้วัสดุหรือกรรมวิธีอะไรบ้าง บางคนก็ใช้คำอื่นที่มีความหมายในทำนองเดียวกันเช่น assorted materials, combined materials, combined painting, mixed mediums และบางคนก็ใช้ mixed media environment

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวาดภาพลายเส้น(ภาพคนเหมือน)


ในที่สุดก็มาบทสุดท้ายของการวาดภาพลายเส้น(การวาดภาพคนเหมือน)กันแล้วนะครับโดยรูปในขั้นตอนที่ใช้สอนเป็นงานที่ลอกมาจากงานของ อ.ลาภ อำไพรัตน์ วาดไว้ในหนังสือการวาดภาพคนเหมือนของสำนักพิมพ์เศรษฐศิลป์ เป็นภาพของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ลำดับขั้นตอนการวาดภาพคนเหมือน
1.ร่างภาพ
ก่อนทำการวาดภาพและลงน้ำหนักในภาพคนเหมือนนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการร่างภาพแบบก่อนเพราะถ้าเราร่างภาพแบบไม่เหมือนหรือผิดสัดส่วนพอลงน้ำหนักก็ไม่มีวันที่รูปจะออกมาเหมือนและถูกสัดส่วนตามแบบได้เลย ส่วนการร่างภาพนั้นแนะนำให้ร่างเบาๆก่อน(อาจร่างด้วยดินสอ HB ก็ได้)เพราะกันผิดพลาดและลบแก้ไขได้ง่าย
2.กำหนดแสง-เงา
ขั้นตอนนี้สำหรับรูปที่มีการเข้าแสงที่จัดทำให้เกิดแสง-เงาที่ตัดกันจึงควรลงน้ำหนักด้านที่เป็นเงา บางๆก่อน(ส่วนด้านที่แสงเข้ามากระทบไม่ต้องลงน้ำหนักปล่อยขาวไว้เลย)แล้วจึงเพิ่มน้ำหนักภายหลังเพื่อแยกจากด้านแสงเข้าก่อน กันงงและหลงน้ำหนัก แต่ถ้ารูปต้นแบบเป็นแบบแสงนุ่มไม่ตัดกันชัดเจนก็ข้ามขั้นตอนนี้ได้เลยครับ
3.ลงน้ำหนักกลาง
การลงน้ำหนักในขั้นตอนนี้ให้ลงน้ำหนักใน Step ที่3และ4(กลับไปดูขั้นตอนการฝึกน้ำหนัก5 Step)ไว้ก่อนโดยจุดที่เงาเข้มให้ลง Step 3 และลง Step 4 ในจุดที่เงาไม่มากนัก ส่วนจุดที่สว่างหรือโดนแสงให้เว้นไว้ไม่ต้องลงน้ำหนัก เพราะการที่เราลง Step 3-4 ไว้ก่อนนั้นจะเป็นน้ำหนักที่ไม่เข้มมากเกินไปสามารถเพิ่มน้ำหนักและลบออกได้ง่ายที่สำคัญการที่เราลงน้ำหนักในระดับนี้ก่อนจนทั่วภาพนั้นจะไม่ทำให้ภาพนั้นดูมืดหรือเข้มไปด้วยครับ และยังแยกด้านที่เป็นแสงและเงาได้ชัดเจนทำให้วาดภาพได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
4.การเพิ่มน้ำหนัก
ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนที่ทำให้ภาพดูมีระยะชัดลึกมีน้ำหนักและมีชีวิตขึ้นมาครับโดยการเพิ่มน้ำหนักเข้าไปในจุดที่เราลงน้ำหนักกลางไว้ ดูว่าจุดไหนที่เป็นจุดที่มีเงาเข้มมีความลึกและมีการบังแสงหรืออยู่ในระยะที่ลึกเข้าไปจุดพวกนี้จะต้องมีน้ำหนักเข้มใน Step ที่ 1-2 เช่นจุดที่จะมีน้ำหนัก Step ที่1ได้ก็อย่าง แก้วตา,หัวตา,ขอบตาบน,รูจมูก,รูหู,ในปากหรือเส้นกลางปาก,หัวคิ้วและใต้คาง/สันกับปีกจมูก(ฝั่งเงามืด)ฯลฯเหล่านี้ล้วนต้องใช้น้ำหนักที่เข้มเพื่อความมีมิติของภาพและการลงน้ำหนักเหล่านี้ต้องคำนึงถึงจุดที่เชื่อมน้ำหนักด้วยเช่นถ้าจะลงน้ำหนักที่ทำให้ดูนุ่มนวลจากเข้มเข้าหาอ่อนโดยไม่ใช่จุดที่แสงเงาตัดกันก็ต้องมีน้ำหนักที่คอยเชื่อมและมีการกระจายน้ำหนักออกรอบๆด้าน คือเมื่อลงน้ำหนัก Step ที่1ในจุดใดจุดหนึ่งก็กระจายออกด้วย Step ที่2รอบๆด้าน(Step ที่2นี้เป็นตัวเชื่อมStep ที่1 เพื่อเข้าหากับ Step ที่3 หรือ4 ทำให้ไม่ดูขาดจนเกินไปและภาพดูนุ่มนวลขึ้น)เช่นกันถ้าลงน้ำหนักด้วย Step ที่2แล้วต้องการเชื่อมกับStep ที่4หรือ5 ก็ต้องใช้น้ำหนัก Step ที่3เป็นตัวเชื่อม ส่วนด้านที่แสงเข้าที่เราเว้นกระดาษไว้ขาวโดยไม่ลงน้ำหนักก็เชื่อมกับน้ำหนักกลางที่เราลงไว้ด้วย Step ที่5เข้าหา Step ที่4 ครับ แต่ข้อควรสังเกตุอีกอย่างคือถ้าจุดไหนเป็นจุดที่แสงเงาตัดกันก็ไม่ควรใส่น้ำหนักที่เป็นตัวเชื่อมลงไปเพราะจะทำให้ภาพขาดความสมจริงไป
5.กำหนดทิศทางผม
เมื่อทำใบหน้าเสร็จแล้วก็ต้องมาทำผมกันบ้างผมมีความสำคัญกับภาพมากนะครับเพราะมันจะทำให้ดูสมจริงมีชีวิตชีวาทำให้ภาพดูสวยขึ้นได้มากทีเดียวยกเว้นรูปคนหัวล้านหรือใส่หมวก ขั้นตอนการวาดผมก็คือก่อนอื่นต้องกำหนดทิศทางของเส้นผมก่อนโดยการลงน้ำหนักกลางปาดไปตามแนวผมของต้นแบบ(เหมือนการหวีผมครับ)
6.เพิ่มน้ำหนักผม
ขั้นตอนนี้คล้ายๆตอนทำใบหน้าแต่ต่างกันเรื่องทิศทางของการควบคุมดินสอ จะเพิ่มน้ำหนักโดยรวมก่อนก็ได้ครับแล้วเว้นด้านที่ถูกแสงอย่าให้น้ำหนักเท่ากันไปหมดเพื่อความมีมิติและจบด้วการนำดินสอที่แหลมกรีดตัดไปตามแนวเส้นผมทำให้ผมดูเป็นเส้นๆสวยงาม
*(ภาพที่ผมนำมาวาดประกอบยังไม่เสร็จสมบูรณ์จึงขอนำรูปผลงานของ อ.ลาภ อำไพรัตน์ ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วมาให้ดูเป็นตัวอย่าง)
7.เก็บรายละเอียดและจบงาน
เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการวาดภาพคนเหมือน เช่น การนำดินสอแหลมๆมากรีดเป็นขนตา,ไรผม,คิ้ว หรือการมาเก็บรายละเอียดพวกตัวเชื่อมน้ำหนักแสงเงา และรวมถึงการทำเสื้อผ้า,พื้นหลัง(Background)ฯลฯ เหล่านี้ยิ่งเราเก็บรายระเอียดได้มากเท่าไหร่ความเหมือนความสวยงามและคุณค่าของงานก็จะมากตามไปด้วยครับ
การวาดรูปคนเหมือนให้ได้ดีต้องหมั่นวาดให้มากๆครับเริ่มแรกก็ควรเริ่มจากการลอกงานที่คนอื่นวาดไว้แล้วครับเพราะจะดูง่ายกว่าการวาดจากรูปถ่ายหรือวาดจากคนจริงๆเมื่อเข้าใจและมีความชำนาญแล้วค่อยลองวาดจากรูปถ่ายหรือวาดจากคนจริงๆดู
ต่อไปเป็นรูปที่ผมฝึกวาดไว้และผลงานของผมขอนำมาเป็นแบบให้ทุกๆคนลองฝึกทำเป็นแบบดูนะครับ
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/400096

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การวิเคราะห์วิจารณ์งานศิลปะ

การวิเคราะห์วิจารณ์งานศิลปะ 
ความหมาย
การวิเคราะห์งานศิลปะ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วนๆ ทีละประเด็น ทั้งในด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ และความสัมพันธ์ต่างๆ  ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการแสดงออก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านความงาม ทางด้านสาระ และทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร
 การวิจารณ์งานศิลปะ  หมายถึง การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานทางศิลปะที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นไว้ โดยผู้วิจารณ์ให้ความคิดเห็นตามหลักเกณฑ์และหลักการของศิลปะ ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และสาระอื่นๆ ด้วยการติชมเพื่อให้ได้ข้อคิดนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงานศิลปะ หรือใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตัดสินผลงาน และเป็นการฝึกวิธีดู วิธีวิเคราะห์ คิดเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าในผลงานศิลปะชิ้นนั้น ๆ 

คุณสมบัติของนักวิจารณ์1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งศิลปะประจำชาติและศิลปะสากล
2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ
3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม
4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น
5. กล้าที่จะแสดงออกทั้งที่เป็นไปตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกและประสบการณ์

ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็น 4 ลักษณะ  ดังนี้
1. นิยมการเลียนแบบ (Imitationalism Theory) เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้วเลียนแบบไว้ให้เหมือนทั้งรูปร่าง รูปทรง สีสัน ฯลฯ
2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม (Formalism Theory) เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ให้สวยงามด้วยทัศนธาตุ (เส้น รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก พื้นผิว บริเวณว่าง) และเทคนิควิธีการต่างๆ
3. นิยมแสดงอารมณ์ (Emotional Theory) เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่างๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์อันเนื่องมาจากเรื่องราวและอารมณ์ของศิลปินที่ถ่ายทอดลงไปในชิ้นงาน
4. นิยมแสดงจินตนาการ (Imagination Theory) เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ แสดงความคิดฝันที่แตกต่างไปจากธรรมชาติและสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ
แนวทางการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของงานศิลปะ
            การวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 3 ด้าน  ได้แก่
1. ด้านความงาม
       เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านทักษะฝีมือ การใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ และการจัดองค์ประกอบศิลป์ว่าผลงานชิ้นนี้แสดงออกทางความงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสมสวยงามและส่งผลต่อผู้ดูให้เกิดความชื่นชมในสุนทรียภาพเพียงใด ลักษณะการแสดงออกทางความงามของศิลปะจะมีหลากหลายแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของยุคสมัย ผู้วิเคราะห์และประเมินคุณค่าจึงต้องศึกษาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้วย เช่น
ภาพแม่พระมาดอนนา พระเยซู และเซนต์จอห์น
(The Madonna and Child with The infant St. John)
เทคนิคสีน้ำมันบนแผ่นไม้
ผลงานของราฟาเอล (Raphael)
แสดงรูปแบบความงามของภาพโดยใช้รูปคนเป็นจุดเด่น
มีความเวิ้งว้างของธรรมชาติเป็นฉากหลังแสดงความตื้นลึกใกล้ไกล
โดยใช้แนวทางของทัศนียวิทยาและการจัดองค์ประกอบภาพในแนวกรอบสามเหลี่ยม
ซึ่งเป็นลักษณะความงามในการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ศิลปินในสมัย
ฟื้นฟูศิลปวิทยานิยมทำกัน
 
ภาพองค์ประกอบศิลป์ (Composition) เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ (พ.ศ.2472)
ผลงานของ พีต  มอนดรีอัน (Piet  Mondrian)
เน้นการออกแบบโดยเส้นที่ตัดกันเป็นมุมฉากระหว่างเส้นนอนกับเส้นตั้ง
เกิดเป็นบริเวณว่างให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสี่เหลี่ยม
ด้วยการใช้สีแดง เหลือง น้ำเงินที่สดใส รวมทั้งสีขาว ดำ และเทา
ในแบบนามธรรมที่ใช้เส้นเรขาคณิตเป็นหลัก
สรุปการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในด้านความงามจะตัดสินกันที่รูปแบบการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ หรือการเห็นคุณค่าทางความงามนั่นเอง
2. ด้านสาระ
เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะแต่ละชิ้นว่ามีลักษณะส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนจุดประสงค์ต่างๆ ทางจิตวิทยาว่าให้สาระอะไรกับผู้ชมบ้าง ซึ่งอาจเป็นสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม ศาสนา การเมือง ปัญญา ความคิด จินตนาการ และความฝัน เช่น


ภาพวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2351 (The Third of May 1808)ผลงานของฟรันซิสโก โจเซ เด โกยา (Francisco Jose de Goya) จิตรกรชาวสเปน
แสดงคุณค่าด้านสาระให้เห็นถึงความเจ็บปวดจากการถูกย่ำยีและเข้ายึดครองประเทศสเปนของทหารฝรั่งเศส ในสมัยนโปเลียนที่มีการสังหารประชาชนผู้แสวงหาอิสรภาพอย่างเลือด็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มีคุณธรรมในการปกครองบ้านเมือง
3. ด้านอารมณ์ความรู้สึก
เป็นการคิดวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกและสื่อความหมายได้อย่างลึกซึ้งของวัสดุ ซึ่งเป็นผลของการใช้เทคนิคแสดงออกถึงความคิด พลัง ความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน เช่น
ภาพฝูงกาเหนือทุ่งข้าวสาลี (Wheatfield with Crows)เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ
ผลงานของ ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก (Vincent Van Gogh)
แสดงพลังความรู้สึกของศิลปินแทรกอยู่ในรอยฝีแปรงของเส้นสี ซึ่งบ่งบอกถึงความรู้สึกภายในได้อย่างชัดเจน เป็นภาพเขียนชิ้นสุดท้ายในชีวิตที่อาภัพและรันทดของ ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก ซึ่งเขียนภาพนี้ขึ้นก่อนยิงตัวตาย
ประติมากรรมชื่อ ปิเอตา ( Pieta )ผลงานของ มิเคลันเจโล (Michelongelo Buonarroti)
แสดงคุณค่าด้านความงามขององค์ประกอบศิลป์ที่จัดไว้ในแนวกรอบของรูปสามเหลี่ยม
ซึ่งเป็นการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่นิยมกันมากในผลงาน ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
(Renaissance) นอกจากนั้นยังแสดงความงามของแนวเส้นโค้งของพระเศียรพระแม่มาเรีย
ที่ก้มพระพักตร์ลงกับแนวเส้นโค้งของพระวรกายองค์พระเยซูที่นอนพาดอยู่บนตัก
อย่างงดงามกลมกลืน ได้คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นอย่างดี ทำให้มองเห็นถึงความรู้สึกของแม่
ผู้มีความรักความผูกพันต่อลูก รวมทั้งยังได้คุณค่าสาระทางด้านศาสนาอีกด้วย
      กระบวนการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักการและวิธีการ
1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน          เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค วิธีการ สร้างเมื่อ พ.ศ.ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด
2. ขั้นตอนการพรรณนาผลงาน       เป็นการบันทึกข้อมูลจากการมองเห็นภาพผลงานในขั้นต้นว่าเป็นภาพอะไร เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่ง เป็นต้น มีเทคนิคในการสร้างสรรค์แบบใด     
3. ขั้นวิเคราะห์          เป็นการดูลักษณะภาพรวมของผลงานว่าจัดอยู่ในประเภทใด พิจารณารูปแบบการถ่ายทอดเป็นแบบใด จำแนกทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์ออกจากภาพรวมเป็นส่วนย่อยให้เห็นว้มีหลักการจัดภาพที่กลมกลืนหรือขัดแย้งอย่างไร
4. ขั้นตีความ
                เป็นการค้นหาความหมายของผลงานว่า ศิลปินหรือผู้สร้างสรค์ต้องการสื่อให้ผู้ชมผลงานได้รับรู้เกี่ยวกับอะไร เช่น สภาพปัญหาในชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
5. ขั้นประเมินผล
                เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้นจากการพิจารณาทุกข้อในเบื้องต้น สรุปให้เห็นข้อดีและข้อด้อยในด้านเนื้อหาและเรื่องราว หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทักษะ ฝีมือ และการถ่ายทอดความงาม เพื่อการพัฒนาหรือตัดสินผลงานชิ้นนั้น
ตัวอย่างการวิจารณ์งานศิลปะ
             
1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน    ประเภทงาน                :     จิตรกรรม     ชื่อผลงาน                   :    <โมนาลิซา ( Mona Lisa )     ชื่อศิลปิน                    :    เลโอนาร์โด ดา วินชี ( Leonado da Vinci ) ศิลปินชาวอิตาเลียน
     ขนาดผลงาน              :     
>77 x 53 ซม.
     เทคนิค วัสดุ               :     สีน้ำมันบนแผ่นไม้
     ผลงานสร้างเมื่อปี        :    พ.ศ.2046 - 2049 ( ค.ศ.1503 - 1506 )
     ปัจจุบันอยู่ที่                :    พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
     รูปแบบการสร้างสรรค์   :    เป็นงานศิลปะตะวันตก การถ่ายทอดรูปแบบเหมือนจริงตามลักษณะแบบอย่าง
                                              ของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance )
2. ขั้นพรรณนาในผลงาน
         เป็นภาพเขียนครึ่งตัว ( Portrait ) สุภาพสตรีผมยาวมีผ้าคลุม หวีผมแสกกลาง เสื้อคลุมด้วยสีดำเรียบ เห็นใบหน้าเกือบตรง ลำตัวบิดเบี้ยวเล็กน้อย มือขวาวางคว่ำสัมผัสข้อมือซ้ายที่วงาราบอยู่บนที่วางแขนของเก้าอี้ เบื้องหลังเป็นภาพของทิวทัศน์สงบเงียบ บรรยากาศเร้นลับ ชวนฝัน
                   
                   ภาพส่วนขยายนัยน์ตาและรอยยิ้ม ของโมนาลิซา ที่แสดงออกถึง
                   ความรู้สึกที่ต้องการค้นหาบางสิ่ง ซ่อนเลศนัยและปริศนาให้ผู้ดู
                   บังเกิดความรู้สึกและตั้งคำถามว่า โมนาลิซากำลังคิดอะไรอยู่
3. ขั้นวิเคราะห์         เป็นงานจิตรกรรมที่มีคุณค่าในการแสดงออกทั้งในด้านความงาม ด้านสาระ และด้านอารมณ์ความรู้สึก         ด้านความงาม  เป็นภาพที่สร้างสรรค์โดยยึดทฤษฎีการเลียนแบบตามธรรมชาติ คือ การเลียนแบบความ งามตั้งแต่รูปร่าง รูปทรง สีสัน และน้ำหนักแสงเงา
         เป็นภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเลโอนาร์โด ดา วินชี ในการเขียนภาพผู้หญิง คือ นิยมเขียนคิ้วบางเลือนราง และมีรอยยิ้มมุมปากที่คล้าย ๆ กันกับภาพอื่น ๆ ของเขา
        เป็นภาพที่มีเอกลักษณ์ในการจัดภาพตามแบบอย่างของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) คือ มีบุคคลเป็นประธานของภาพและมีฉากหลังเป็นทิวทัศน์แสดงบรรยากาศตามจินตนาการ เพราะศิลปินในสมัยนั้นมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นศูนญ์กลางของจักรวาล เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ ยึดมั่นในเหตุผล คุณค่าของความเป็นมนุษย์อยู่ที่ความคิด ความรู้ และความสามารถ
         ด้านสาระ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของคนชั้นสูงในสมัยนั้น ทั้งด้านเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และความนิยมในการไว้ผมยาวหวีแสกกลางตามสมัยนิยม ในแฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ในอิตาลี นอกจากที่ปรากฏให้เห็นในภาพโมนาลิซา ยังเห็นได้ในภาพอื่นๆ ของเขาอีก
        นอกจากนี้ ภาพโมนาลิซายังเป็นภาพที่เลโอนาร์โด ดา วินชี ถ่ายทอดบุคลิกของตนเองแฝงไว้ในใบหน้าของโมนาลิซา ซึ่งจะมีลักษณะเค้าโครงรูปหน้าที่คล้ายกัน
           ด้านอารมณ์ความรู้สึก  เป็นภาพที่แสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในของโมนาลิซาที่แฝงอยู่ในท่าทาง และสะท้อนให้เห็นได้จากนัยน์ตาและรอยยิ้มปริศนา รวมทั้งความรู้สึกที่รับรู้ได้จากบรรยากาศในม่านหมอกของฉากหลัง
           การวิเคราะห์ทัศนธาตุ       
เส้น แสดงการใช้เส้นโค้งและเส้นลักษณะอื่นๆ ได้สัมพันธ์กลมกลืนกัน ทั้งในส่วนของใบหน้า เส้น
                      ผม ผ้าคลุม รอยยับของผ้า นิ้วมือ แนวเส้นของทางเดิน และสายน้ำลำธารของฉากหลัง
รูปร่าง รูปทรง 
แสดงรูปร่าง รูปทรง ลักษณะธรรมชาติของคน และทิวทัศน์ได้อย่างสวยงาม
สี                   แสดงภาพสีส่วนรวมเป็นโทนสีน้ำตาลอมเขียวและดำ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความ
                    หมาย สีน้ำตาลหมายถึงธรรมชาติหรือโลก สีน้ำตาลออกดำหมายถึงความสุขุม ความลึกลับซ่อน
                    เร้น และสีเขียวหมายถึงชีวิต ขนาด สัดส่วน   แสดงขนาดของคนได้เหมาะสมกับขนาดภาพ
                    และแสดงสัดส่วนทางกายวิภาคได้ถูกต้อง งดงามตามธรรมชาติ
แสงเงา         แสดงการใช้แสงเงาที่กลมกลืนเหมือนธรรมชาติ แสงเงาส่วนรวมของภาพมีน้ำหนักเข้มมืด
                    บริเวณใบหน้าและมือให้แสงสว่างมาก และมีน้ำหนักเงาอ่อน
บริเวณว่าง    แสดงบริเวณว่างรอบตัวโมนาลิซาเป็นทิวทัศน์อยู่ฉากหลัง นอกจากจะทำพให้ภาพดูโปร่งตาไม่
                   ทึบตันเกินไป ยังทำให้ภาพมีระยะใกล้ไกล มีมิติตื้นลึก และเหมือนจริง
ลักษณะผิว    แสดงการใช้ลักษณะผิวในส่วนของใบหน้าและมือด้วยการเกลี่ยสีให้นุ่มนาลสอดคล้อง สมวัย
                   และเหมือนจริง โดยเฉพาะมือขวาให้ความรู้สึกเหมือนมีเลือดเนื้อจริงๆ

          การวิเคราะห์หลักองค์ประกอบศิลป์
เอกภาพ       การจัดภาพโดยรวมมีความเป็นเอกภาพด้วยเส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงาที่สัมพันธ์กลมกลืน
                   กันทั้งรูปคนและธรรมชาติ ทำให้ทั้งภาพดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ดุลยภาพ      แสดงภาพโมนาลิซาตรงแกนกลาง วางท่าอยู่ในแนวรูปสามเหลี่ยม จัดวางทิวทัศน์ไว้ในบริเวณ
                   ว่าง มัลักษณะของดุลยภาพแบบซ้ายขวาเท่ากัน ซึ่งให้ความรู้สึกสงบทางกายภาพ
จุดเด่น        แสดงจัดเด่นอยู่บนใบหน้า มีดวงตาที่ให้ความรู้สึกเหมือนมองผู้ดูผลงานอยู่ตลอดเวลาและรอย
                  ยิ้มที่เป็นปริศนา
ความกลมกลืน แสดงการจัดภาพของส่วนประกอบต่างๆ ทางทัศนธาตุ ทั้งรูปแบบของเส้น รูปร่าง รูปทรง สี
                  ขนาด สัดส่วน แสงเงา บริเวณว่าง และพื้นผิวได้อย่างสัมพันธ์กลมกลืนกันทั้งเทคนิค วิธีการสร้าง
                   สรรค์ ซึ่งสอดประสานกับอารมณ์ ความรู้สึกของภาพได้อย่างงดงาม
ความขัดแย้ง   แสดงความขัดแย้งในด้านน้ำหนัก สี แสงเงา ส่วนรวมของภาพมีความเข้มคล้ำ ต่างกับส่วนใบ
                     หน้าที่ใช้น้ำหนักสี สงเงาอ่อนกว่า แต่มีผลดีคือช่วยส่งเสริมบริเวณส่วนใบหน้าให้มีความเจิด
                     จ้า  เด่นชัด และงดงามยิ่งขึ้น
4. ขั้นตีความ         เป็นงานจิตรกรรมภาพเหมือน (Portrait) ที่มีชื่อเสียงมาก เป็นภาพของหญิงสาวในท่านั่ง แต่งกายตามสมัยนิยมในแฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ในอิตาลี เบื้องหลังเป็นภาพทิวทัศน์ภูเขาที่ดูนุ่มเบา แสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้า โดยเฉพาะแววตาและรอยยิ้มที่เป็นปริศนา ไม่สามารถจะบอกได้ว่าเธอกำลังยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ หรือเธอต้องการบอกอะไรบางอย่างกันแน่ ผู้ที่ได้ชมภาพนี้จะเกิดจินตนาการในการสร้างความรู้สึกหรืออารมณ์เข้าไปในภาพด้วย
5. ขั้นประเมินผล
 
         
          หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์          ศิลปินนำหลักทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบศิลป์มาใช้ให้เกิดความสัมพันธ์กันทั้งในส่วนประธานและส่วนรองของภาพ ทำให้ผลงานมีเอกภาพ ดุลยภาพ จุดเด่น ความกลมกลืนและความขัดแย้งได้งดงามตามกรรมวิธีการจัดองค์ประกอบศิลป์แบบศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
          ทักษะฝีมือและการถ่ายทอดความงาม            จิตรกรมีทักษะและความสามารถในการเขียนภ่าพเหมือนจริง และพัฒนากรรมวิธีการแก้ปัญหาระยะตื้นลึกของภาพโดยใช้เทคนิคภาพสีหม่น  (Sfumato) ทำให้ฉากหลังดูนุ่มเบา และใช้โทนสีหนักกับตัวนางแบบ นอกจากนี้จิตรกรยังนำหลัก ทัศนมิติเชิงอากาศ (Aerial Perspective) มาใช้ในการแก้ปัญหาระยะตื้นลึก คือการทำให้ภาพดูเหมือนกับมองผ่านปริมาณอากาศ สีของสิ่งที่อยู่ในระยะไกลดูจางลงเป็นลำดับ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในอากาศ สีและเส้นรอบนอกของสิ่งที่อยู่ระยะไกลในภาพทิวทัศน์จะมีความชัดเจนน้อยกว่าสิ่งที่อยู่ในระยะใกล้ ทำให้ภาพดูมีระยะตื้นลึก ซึ่งปรากฏในส่วนฉากหลังของโมนาลิซา จัดเป็นภาพที่แสดงระยะตื้นลึกและบรรยากาศยามหมอกลงจัดได้อย่างน่าชม